COLUMNIST

พลังชีวมวลฟื้นคืนเศรษฐกิจไทย : เข้มแข็งระยะสั้น มั่นคงระยะยาว
POSTED ON -


 

ท่านที่เป็นแฟนพันธุ์แท้พลังงานชีวมวล รวมถึงเกษตรกรที่รอความหวังว่าจะมีรายได้จากการขายเศษเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร อย่าเพิ่งหมดหวังที่นโยบายกับการปฏิบัติของรัฐไปคนละทิศละทางชั่วขณะหนึ่ง การที่ภาครัฐไม่มีความชัดเจนในการส่งเสริมชีวมวล ถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนภาครัฐรับประทานอาหารรสอร่อยที่ไม่คุ้มค่าทางโภชนาการไประยะหนึ่ง แต่ในยามที่เศรษฐกิจอ่อนแรง จึงมีกระแสการส่งเสริมชีวมวล ซึ่งเปรียบเสมือนอาหารที่มีโภชนาการสูง แต่รัฐก็ยังไม่วายมีความคิดที่ว่าไฟฟ้าจากชีวมวลจะต้องราคาถูกกว่าพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ที่ต้องมีการนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่ต่างกับความคิดที่ว่าขนมเค้กต้องมีราคาแพงกว่าขนมใส่ไส้และกล้วยบวชชี ทั้งๆ ที่ขนมไทยมีคุณค่ามากกว่า

 

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าชีวมวลจะช่วยให้ชุมชนและเกษตรกรมีรายได้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่นำไปผลิตพลังงาน ซึ่งหลายท่านคงอยากจะทราบว่าประเทศไทยเรามีชีวมวลสำหรับผลิตพลังงานได้สักเท่าไหร่ ในแต่ละภาค แต่ละจังหวัด และแต่ละอำเภอ มีศักยภาพชีวมวลเท่าไหร่ ผู้เขียนจะขอนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ได้รับงบประมาณจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมาให้ท่านอ่านกันพอเป็นแนวทาง ซึ่งท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.dede.go.th

 

ผลการศึกษาความหนาแน่น ความชื้น คุณสมบัติแบบประมาณ และค่าความร้อนสูงของชีวมวล

วัตถุดิบสำหรับใช้ ผลิตชีวมวล
ความชื้น เริ่มต้น (%)
ความหนาแน่น (Bulk, kg/m3)
คุณสมบัติแบบประมาณ (%)
ค่าความร้อนสูง (kJ/kg)
สาร ระเหย
เถ้า
คาร์บอน

 เปลือกไม้ยูคาลิปตัส

59.53

127.45

69.70

9.10

21.20

3,847 

 เนื้อไม้ยูคาลิปตัส

60.34

357.00

72.20

3.10

24.70

4,340 

 ปลายไม้ยูคาลิปตัส

59.30

280.00

75.10

3.00

21.90

4,420 

 กิ่งยางพารา

32.90

205.00

50.80

1.80

14.50

4,360 

 เนื้อไม้ยางพารา

23.00

306.37

59.70

1.00

16.30

4,390 

 ปีกไม้ยางพารา

43.40

410.00

39.60

4.80

12.20

2,480 

 ลำต้นปาล์มน้ำมัน

65.50

530.00

26.30

1.90

6.30

4,120 

 ทางปาล์มน้ำมัน

56.60

213.90

31.20

3.40

8.80

4.250 

 ทะลายปาล์มน้ำมัน

22.30

80.00

62.40

2.30

13.00

3,810 

 ฟางข้าว

44.50

63.97

68.10

15.90

16.10

3,827 

 แกลบ

18.80

90.00

60.70

19.50

19.80

3,707 

 ใบ/ยอดอ้อย

49.10

295.00

73.30

6.50

20.20

4,227 

 เนื้อไม้กระถินยักษ์

44.35

253.00

76.10

0.70

23.20

4,450 

 เปลือกข้าวโพด

5.35

20.13

76.00

3.00

21.00

4,193 

 ซังข้าวโพด

5.37

120.32

76.90

2.40

20.70

4,323 

 ซังผสมเปลือกข้าวโพด

11.60

87.32

75.80

2.40

21.90

4,340 

 ต้นข้าวโพด

10.65

46.25

73.20

8.10

18.70

4,193 

 เหง้ามันสำปะหลัง

53.50

193.00

74.50

5.50

20.20

4,128 

 ธูปฤาษี

72.40

169.00

75.00

8.80

16.20

4,280 

 ผักตบชวา

92.12

236.92

69.60

14.20

16.20

3,700 

 หญ้าเนเปียร์

86.90

166.00

64.90

14.20

20.90

4,240 

 ทางมะพร้าว

68.77

288.40

22.85

2.27

5.96

1,220 

 เศษไม้ไผ่

15.00

155.00

79.70

16.38

3.92

5,155 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ * หมายเหตุ : เป็นผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่ได้บางส่วนจากการลงพื้นที่สำรวจ (ค่าเฉลี่ย)

 

 

ชีวมวลในประเทศไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มวัสดุชีวมวลเหลือทิ้งจากกระบวนการเก็บเกี่ยวทางการเกษตร ได้แก่ ต้น/ใบ/ซัง/เปลือกข้าวโพด ฟางข้าว ยอด/ใบอ้อย เหง้ามันสำปะหลัง ทางปาล์มน้ำมัน ปลายไม้ยางพารา และทางมะพร้าว

 

กลุ่มที่ 2 กลุ่มไม้โตเร็วที่ปลูกเพื่อใช้เป็นชีวมวลหรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ปลายไม้/เนื้อไม้ยูคาลิปตัส เนื้อไม้กระถินยักษ์ หญ้าเนเปียร์ และผักตบชวา และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มวัสดุชีวมวลที่เหลือในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ทะลายปาล์มน้ำมัน ปีกไม้ยางพารา เปลือกยูคาลิปตัส แกลบ ชานอ้อย และเศษไม้ไผ่

 

โดยชีวมวลทั้ง 3 กลุ่ม จะกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพืชเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น จ.สุพรรณบุรี มีการปลูกข้าวและอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัด ชีวมวลที่มีอยู่มากคือ ฟางข้าว และใบ/ยอดอ้อย เช่นเดียวกันใน จ.สระแก้ว มีการปลูกมันสำปะหลังและไม้ยูคาลิปตัสเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ชีวมวลที่มีมากคือ เหง้ามันสำปะหลัง และเปลือกไม้ยูคาลิปตัส เป็นต้น ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างชีวมวลบางประเภทมาเป็นข้อมูลให้ทุกท่านได้รับทราบ ดังนี้

 

ชีวมวลจากกระถินยักษ์

 

เนื่องจากกระถินยักษ์เป็นไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกท้องที่ของประเทศไทย จึงพบเห็นกระถินยักษ์อยู่ทั่วไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกในลักษณะให้ร่มเงาตามที่สาธารณะหรือริมถนนหนทาง กรมป่าไม้ทำการทดลองปลูกกระถินยักษ์ในรูปแบบสวนป่าตามท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศ และได้สรุปผลการเจริญเติบโตของไม้กระถินยักษ์ โดยปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตได้ดี คือ ในที่ชื้น มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500-1,800 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26-30 องศาเซลเซียส

 

สภาพดินที่เหมาะสมของกระถินยักษ์ คือ ดินร่วนปนทรายที่เป็นกรดเล็กน้อย ต้นกระถินยักษ์ที่ปลูกได้มีอายุ 2 ปี สูงประมาณ 4-5 เมตร โดยเฉพาะ ต.นายายอาม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี สภาพพื้นที่เดินนั้นเป็นดินทรายที่น้ำขังในช่วงฤดูฝน ปลูกพืชเกษตรมาแล้วแต่ไม่ได้ผล ปรากฏว่าต้นกระถินยักษ์มีการเจริญเติบโตได้ดีมาก เมื่อปลูกได้ 3 ปี พบว่า มีความสูงประมาณ 8-9 เมตร

 

ลักษณะทั่วไปของชีวมวลจากกระถินยักษ์ คือ เนื้อไม้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ดีมาก เนื่องจากให้ค่าความร้อนสูง ถ้านำไปเผาเป็นถ่าน จะได้ถ่านที่มีคุณภาพดี ถ่านที่ได้จากไม้กระถินยักษ์เมื่อนำไปใช้จะไม่แตก ไม่มีควัน และติดไฟได้ดี ดังนั้น กระถินยักษ์จึงเป็นไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นป่าฟืน เพื่อใช้สอยในครัวเรือนได้

 

ชีวมวลจากปาล์ม

 

ใยปาล์ม : เป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตน้ำมันปาล์ม มีลักษณะเป็นใย ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต

 

กะลาปาล์ม : เป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตน้ำมันปาล์ม มีขนาดเล็กประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความชื้นต่ำ และมีค่าความร้อนค่อนข้างสูง

 

ทะลายปาล์ม : เป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตน้ำมันปาล์มเช่นกัน มีลักษณะเป็นพุ่ม มีการวิจัยโดยนำไปเพาะเห็ดแทนขี้เลื่อย ถือว่าได้ผลดี แต่ทะลายปาล์มยังไม่เป็นที่นิยมนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงมากนัก เนื่องจากมีสารอัลคาไลน์ค่อนข้างสูง ถ้าอุณหภูมิห้องเผาไหม้สูงเกิน 800 องศาเซลเซียส ขี้เถ้าของทะลายปาล์มจะหลอมละลายและติดตามส่วนต่างๆ บนผนังห้องเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ ทำให้ประสิทธิภาพหม้อไอน้ำลดลง

 

ทางปาล์มหรือใบปาล์ม : เป็นเศษวัสดุเหลือใช้หลังการเก็บเกี่ยว มีความชื้นสูง 80% ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ถูกทิ้งอยู่ในสวนปาล์ม

 

ลำต้นปาล์ม : เมื่อต้นปาล์มอายุ 25 ปีขึ้นไป ลำต้นจะสูงจนไม่สามารถมองเห็นว่าผลปาล์มสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้หรือไม่ ชาวสวนจึงต้องโค่นต้นปาล์มแล้วปลูกใหม่

 

ประเทศไทยสามารถรักษาป่าอนุรักษ์ไว้ได้ตามเป้าหมาย ส่วนป่าเศรษฐกิจยังสอบตกอยู่ ดังนั้น ในโอกาสที่มีการส่งเสริมชีวมวลเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า ควรมีการส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อนำชีวมวลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงาน เช่น กระถินยักษ์ สะแก ฯลน

 

ในอดีตการปลูกสวนป่ายังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากชุมชนมีแค่ส่วนร่วม แต่ไม่มีส่วนได้ จึงขาดงบประมาณในการดูแลหลังการปลูก หากนำแนวคิด "เกษตรพลังงาน" มาใช้กับการปลูกป่าเศรษฐกิจแล้ว ไม่เพียงแต่ช่วยให้ชุมชนเข้มแข็ง แต่ยังส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างดีอีกด้วย

 

คงจะไม่สามารถบอกได้ว่าพลังงานทดแทนชนิดใดที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ตัวอย่างเช่น โซลาร์เซลล์ หากติดตั้งบนหลังคาโรงงาน จะช่วย cut peak ไฟฟ้าในช่วงที่โรงงานมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก เพื่อลดโหลดของการไฟฟ้าฯลง ก็นับว่ามีประโยชน์อนันต์ แต่หากไปติดตั้งโซลาร์ฟาร์มกลางทุ่งนา แย่งพื้นที่ปลูกข้าว และไม่มีโรงงานหรือไม่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันที่โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้แล้วล่ะก็ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ กับประเทศไทยแล้ว ยังสร้างปัญหาให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ต้องสำรองไฟฟ้าจากเขื่อนอันมีค่าเพื่อรองรับปริมาณไฟฟ้าไม่ให้ขาดแคลนอีกด้วย

 

วันนี้ช่วยกันประหยัดพลังงานกันเถอะ

 

Tags : อุตสาหกรรม, ข่าวอุตสาหกรรม, สื่ออุตสาหกรรม, โรงงาน, เครื่องจักรกล, การผลิต, พลังงาน, โลจิสติกส์, Industry, Industrial, Industrial News, Industrial Media, Factory, Machinery, Machine, Manufacturing, Energy, Logistics